ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25%

หลังจากดึงดันกันอยู่นานในที่สุด ผลการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556  มีมติ 6  ต่อ 1  เสียง  ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง  0.25% มาอยู่ที่ 2.25%  จากเดิมที่ 2.50%  และจากเดิมที่มีการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP)  ไว้ที่ 3.7%  ก็ได้มีการลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP)  ปีนี้เหลือเพียง  3%  พร้อมทั้งคาดการณ์ปีหน้าจะเติบโต  4% ต้นๆ  โดยมองว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเปราะบางและมีความเสี่ยง  หลังจากเศรษฐกิจในใตรมาส 3/56  ขยายตัวต่ำกว่าคาด  และในเดือนตุลาคม  ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน

ทั้งนี้ นายไพบูลย์  กิตติศรีกังวาน  เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน  กล่าวว่า  “คณะกรรมการฯ  ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม  และมีความเสี่ยงสูงขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน  ภายใต้แรงกดดันด้านราคาที่ยังอยู่ในระดับต่ำ  ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้างแล้ว  นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ”

push

ดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร

ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)  คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและใช้เป็นเครื่องมือหลักในการส่งสัญญาณนโยบายการเงิน  โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นไปภายใต้กรอบของเงินเพื่อไม่ให้เกิน 3% (ตัวเลข GDP ที่มีการคาดการณ์ไว้)  ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้ ดอกเบี้ยนโยบาย  ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในตลาดว่าควรอยู่ที่เท่าไร ตามแต่สถานการณ์ ก็เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวนั่นเอง  สำหรับประเทศไทยสถาบันการเงินมีสภาพคล่องเหลือก็จะนำเงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยืมเป็นระยะเวลา 1 วัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนพันธบัตรภาครัฐให้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกัน  โดยธนาคารแห่งประเทศไทยสัญญาว่า จะรับซื้อคืนพันธบัตร  ที่ใช้เป็นหลักประกัน พร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลา 1 วันให้้ หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ัยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 1 วัน (1-Day Repurchase Rate หรือ 1-Day Repo Rate)  โดยดอกเบี้ยนั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยนั่นเอง

การปรับขึ้นลงดอกเบี้ยนโยบาย สัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

ถ้าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนั้นแสดงว่าช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจเติบโต  ราคาสินค้าสูงขึ้น จนทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในขณะที่กำลังซื้อของประชาชนเริ่มลดลง พูดง่ายๆ ก็คือ มีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยชิ้นลง   คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มักจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (เพิ่มดอกเบี้ยให้สูงขึ้น)

ถ้าหากมีการลดดอกเบี้ยนโยบาย แสดงว่าช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจเริ่มหดตัว  เงินเฟ้อต่ำลง  ประชาชนไม่ค่อยใช้จ่าย  ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  โดยอาจมีการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลง  เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนถอนเงินไปใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น  เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มักจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดดอกเบี้ยให้ต่ำ)

ทำไมต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย

กระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าไทยทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น  เพราะการที่นักลงทุนต่างชาตินำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนของไทยมาก  ซึ่งเป็นการลงทุนในระยะสั้นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม  นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่งออกส่งสินค้าออกได้ยากขึ้น  เพราะจะถูกมองว่าสินค้าของไทยมีราคาแพงขึ้น  มีผลต่อการแข่งขันทางการค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวแบบเดียวกัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาตรการคิวอีคืออะไร

ค่าเงินบาท : มาตรการ 7 7 8

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.