ทำอย่างไร ถ้ากิจการที่ไม่มีผู้ทำบัญชี
เห็นส่งข้อความเข้ามาหลายๆ คนทำกิจการเล็กๆ ทำเอง ขายเอง ทำบัญชีเอง (รวบรวมเอกสารส่งให้สำนักงานบัญชี) ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง สำหรับทุกคำถาม ขอสรุปให้ในบทความนี้เลยนะคะ ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า ถ้าเจ้าของกิจการไม่ได้จบปริญญาตรีบัญชี และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี ก็ไม่สามารถเซ็นผู้ทำบัญชีได้นะคะสรุปกรณีถ้าเปิดบริษัท แต่หากคิดจะทำบัญชีเอง โดยไม่อยากจ้างพนักงานบัญชี ลองพิจารณาว่า การเริ่มต้นธุรกิจหลายคนมี ความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น แต่บางคนยังขาดความรู้เรื่องการจัดทำบัญชี ที่อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เพราะหากเจ้าของกิจการไม่มีความรู้เรื่องบัญชีและคิดทำบัญชีเองอาจปวดหัวภาย หลังเพราะจะเจอแต่กับการที่มีแต่รายได้ แต่หาค่าใช้จ่ายมาลงบัญชีให้ถูกต้องตามประมวลรัษฏากร หรืออาจมีค่าใช้จ่ายนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามอีกเป็นเหตุให้เสียภาษี สูงอีก เพราะสาเหตุนี้จึงเป็นข้อสรุปว่าทำไมควรจ้างสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีและ ผู้สอบบัญชีให้
-
ถ้าเจ้าของกิจการ จบปริญญาตรีทางบัญชี ก็ไปขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นผู้เซ็นผู้ทำบัญชีเอง
-
ถ้าไม่ได้จบปริญญาตรีทางบัญชี ก็รับพนักงานที่จบปริญญาตรีทางบัญชี เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ การเลือกผู้ทำบัญชีที่ดีและมีประสบการณ์จะสามารถช่วยเจ้าของกิจการในการวางระบบบัญชีที่เหมาะสม การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการบันทึกบัญชี การรายงานผลทางการเงิน เป็นต้น
-
เจ้าของกิจการไม่ได้เรียนทางด้านบัญชีมา ควรจ้างสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีให้ โดยเจ้าของกิจการเก็บรวมเอกสารส่งให้แล้วแต่จะตกลงนัดหมายกัน
-
การเซ็นต์เป็นผู้ทำบัญชีเอง ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี
กรณีถ้ากิจการจะทำบัญชีเอง โดยไม่จ้างสำนักงานบัญชี สามาถเลือกทำได้ดังนี้
แบบที่ 1 ถ้าเซ็นต์เป็นผู้ทำบัญชีเอง หาก จบปริญญาตรีทางบัญชี แล้วก็ติดต่อสำนักงานบัญชีเพื่อจ้างผู้สอบบัญชีเซ็นต์ออกงบการเงิน
แบบที่ 2 รับพนักงานที่จบปริญญาตรีทางบัญชี เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ แล้วก็ติดต่อสำนักงานบัญชีเพื่อจ้างผู้สอบบัญชีเซ็นต์ออกงบการเงิน
งานที่ต้องทำประจำ (ตามนี้เลยค่ะ การจัดตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายบัญชี)
งานหลักที่ต้องส่งสรรพากร
-
ภาษีที่เกิดขึ้นประจำเดือน ยื่นแบบ/จัดทำและนำส่งภาษีรายเดือน เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1,ภงด.3,ภงด.53) และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)
-
ภาษีที่ต้องยื่นประจำครึ่งปี / ประจำปี