การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน (Journal) : ตอนที่ 8
การบัญชีคือการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นโดยละเอียด เมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นเราต้องนำมาบันทึกบัญชี หรือลงบัญชี หรือ การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน ซึ่งในความเป็นจริงกิจการไม่สามารถลงรายวันได้ทุกวันก็อาจจะสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็ได้ โดยเก็บรวบรวมใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี นำมาจัดเรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่เกิดรายการ คัดแยกรายการ วิเคราะห์ก่อนว่าจะสามารถนำมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่ สิ่งที่จะตอบว่าได้หรือไม่ได้ก็คือ รายการที่จ่ายเงินไปนั้นก่อให้เกิดประโยชน์กิจการแล้ว และเกี่ยวข้องกับกิจการหรือไม่ จากนั้นนำไปบันทึกในสมุดบัญชีของกิจการที่เรียกว่า “สมุดรายวัน”
รู้จักสมุดรายวัน
สมุดรายวันมีด้วยกัน 5 ชนิด ( 5 หมวด) แต่ละเล่มมีไว้เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เหตุผลก็เพราะว่า รายการบัญชีที่เกิดขึ้นในวันหนึ่งๆ แม้จะมีรายการมากมายแต่รายการเหล่านั้นมักจะมีการบันทึกลักษณะเดียวกัน เราก็นำรายการที่บันทึกบัญชีเหมือนกัน มาจัดหมวดหมู่ไว้ด้วยกัน ดังนี้
สมุดรายวันซื้อ (AP) มีไว้สำหรับบันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
สมุดรายวันขาย (AR) มีไว้สำหรับบันทึกรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
สมุดรายวันจ่าย (PV) มีไว้สำหรับบันทึกการจ่ายเจ้าหนี้การค้า
สมุดรายวันเงินสดจ่าย (PC) มีไว้สำหรับบันทึกการจ่ายเงินสดย่อย
สมุดรายวันเงินสดรับ (RV) มีไว้สำหรับบันทึกการรับเงินสด (รวมถึงการขายเงินสด)
สมุดรายวันทั่วไป (JV) เป็นสมุดรายวันมาตรฐาน , บันทึกรายการที่ไม่ สามารถบันทึกในสมุดรายวันอื่น
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชี
เอกสารที่ต้องจัดเก็บ
การจัดเก็บเอกสารบัญชี เราต้องให้ความสำคัญมาก เพราะต้องจัดเก็บไม่ต่ำกว่า 5 ปี ต้องแยกเอกสาร
จัดเก็บออกเป็นหมวดๆ เช่น เงินสดรับ (RV) เงินสดจ่าย (PC) ซื้อเชื่อ(AP) ขายเชื่อ (AR) สมุดรายวันทั่วไป (JV)
บัญชีเงินฝากของกิจการ (Bank Statement ) ,รายการทรัพย์สิน เป็นต้น โดยแต่ละหมวดแต่ละชุดต้องสามารถอ้างอิงกันได้ (ด้วยการเรียงลำดับเลขที่เอกสาร ตามวัน เดือน ปี โดยขึ้นต้นตามเอกสารแต่ละเล่ม เช่น เงินสดรับ 1/1/56 ใส่หมายเลข RV 5601001 ) แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมี ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ ใบรับของ ใบส่งของ เช่น
เมื่อรับเงินจากลูกค้า จัดเก็บ สำเนาใบกำกับภาษีขาย สำเนาใบเสร็จรับเงินที่ออกให้กับลูกค้า
เมื่อจ่ายเงินเจ้าหนี้การค้า จัดเก็บ ต้นขั้วเช็ค ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ จากลูกค้า
อื่นๆ ดูเพิ่มเติมจากหัววงจรบัญชี http://www.isstep.com/accounting-cycle/