ค่าเงินบาท : มาตรการ 7 7 8

                หลังจากที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ออกมาตรการเพิ่มปริมาณเงิน หรือ QE ของประเทศ ทำให้เกิดการไหลของเงินทุน  ส่งผลต่อค่าเงินบาท ตลาดทุน จนหลายฝ่ายหวั่นวิตก  เพราะได้รับผลกระทบถ้วนหน้า  ได้แต่เฝ้ารอ เมื่อไหร่หนอ มาตรการป้องกันที่เตรียมประกาศออกมาเพื่อป้องกันการไหลของเงินลงทุนในตราสารหนี้ และ ตราสารทุน ดังกล่าว วันนี้ (29 พฤษภาคม 2556) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี มีผลทันที

สรุปสาระสำคัญ  กระทรวงการคลังแก้กฎคุมเงินเข้าออก ประกาศเป็นกฎกระทรวง และออกมาตรการหรือเครื่องมือให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ)  นำไปใช้ควบคุมเงินไหลเข้าออก  ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2556  ขณะที่การดำเนินการมาตรการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รัฐบาลตั้งเป้าหมายทำให้เศรษฐกิจปี 2556  ขยายตัวของ GDP 5%  และการส่งออกขยายตัว 9%  กำหนดแนวทางปฏิบัติออกมาเป็น  22  มาตรการ หรือ 7 7 8  ประกอบด้วย

7 มาตรการด้านการเงิน

7 มาตรการด้านการคลัง

8 มาตรการเฉพาะด้าน

 

weak2

 

มาตรการ 7 7 8 มีอะไรบ้าง?

 7 มาตรการด้านการเงิน 

1.การซื้อขายเงินตราต่างประเทศในอัตราแลกเปลี่ยน

2.การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (ล่าสุด กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 2.5 แล้ว)

3.มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคส่วนต่างๆ

4.พิจารณามาตรการจำกัดเงินทุนไหลเข้าอย่างระมัดระวังเมื่อจำเป็น

5.การบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งทุนสำรองมีจำนวนที่สูงมากจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่ง

6.การช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท

7.การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน

 

7 มาตรการด้านการคลัง

1.การกำกับดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณ

2.ดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่  การลงทุนระบบน้ำ  การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน  การลงทุนด้านการขนส่ง

3.กำหนดให้รัฐวิสาหกิจชำระหนี้  หรือปรับโครงสร้างหนี้เงินตราต่างประเทศ

4.ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างภาษี

5.สนับสนุนด้านสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยต่ำ

6.ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนไปลงทุนในต่างประเทศในธุรกิจที่เหมาะสม

7.การส่งเสริมการออม  และการประกันภัย

 

8 มาตรการเฉพาะด้าน

1.การยกระดับรายได้ทางการเกษตร เช่น การรับจำนำข้าว 22 ล้านตัน  บัตรเครดิตเกษตร (ดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

2.เพิ่มสัดส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็น 40% ของ GDP (กระทรวงการคลัง)

3.ขยายการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (กระทรวงอุตสาหกรรม)

4.เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเป็น 24.7 ล้านคนในปี 2556 และเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่าในปี 2558 (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

5.ตั้งเป้าหมายการขยายตัวการส่งออกในปี 2556 ที่อัตรา 9% (กระทรวงพาณิชย์)

6.มีแหล่งพลังงานที่มั่นคงในราคาที่เหมาะสม

7.ยกระดับเทคโนโลยีและการเข้าถึงบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

8.สร้างรายได้และกำลังซื้อ  ลดต้นทุนประกอบอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย (กระทรวงการคลัง)

 

ความเสี่ยง

  • ความเสี่ยงจากสงครามค่าเงินจากต่างประเทศ  และการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการ QE เช่น ญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา และประเทศแถบยุโรป มีสภาพคล่องส่วนเกินระบบ  ไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง สรุปเงินทุนเคลื่อนย้ายใน 3 ไตรมาสติดต่อกัน สูงขึ้นเท่าตัว  ในประเทศไทยพบว่ามีการลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล
  • เศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังฟื้นตัวอย่างอย่างล่าช้า  จีน ยุโรป สหรัฐฯ ยังปรับตัวอย่างล่าช้า
  • เศรษฐกิจในภูมิภาคในแถบเอเชียก็ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
  • พฤษภาคม ที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศ เช่น ยุโรป อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนามฯลฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก
  • อุตสาหกรรมส่งออกได้รับผลกระทบ

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.