ระบบบัญชีลูกหนี้ (ระบบขาย)
คล้ายกับด้านขาซื้อ (บัญชีเจ้าหนี้) แต่กลับด้านกัน กิจการจะทำหน้าที่เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการ ผู้ส่งของ เจ้าหนี้ ผู้วางบิล ผู้รับเงิน และผู้รับ ภาษีขาย “VAT ขาย” เพื่อนำส่งกรมสรรพากร
หน้าที่ต่างๆ ในระบบลูกหนี้
แผนกที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการ
แผนกขาย >>> รับใบสั่งซื้อสินค้า (จากแผนกจัดซื้อของลูกค้าส่งมา) สอบถามแผนกพัสดุว่าสินค้าคงคลังที่ลูกค้าสั่งซื้อมีจำนวนเพียงพอที่จะจัดส่งให้ลูกค้าหรือไม่เมื่อไหร่จึงจะพร้อมส่งสินค้า เมื่อตรวจสอบสินค้าถ้าไม่เพียงพอแผนกพัสดุจะเริ่มกระบวนการสั่งซื้อ ถ้าเป็นธุรกิจก่อสร้างก็จะส่งให้แผนกประมาณการถอดแบบคำนวณราคาที่ต้องจัดหาเพื่อประมาณราคาว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ จากนั้นทำการวิเคราะห์ลูกค้าโดยสอบประวัติการจ่ายเงินของลูกค้า เสนอผู้บริหาร ถ้าทุกอย่างลงตัว ก็ดำเนินการขั้นต่อไป
แผนกขาย >>> “เบิกของ” พร้อมทำสำเนา 3 ชุด ให้ แผนกขาย แผนกพัสดุ แผนกบัญชี
แผนกพัสดุ >>> ได้รับใบเบิกของ ดำเนินการเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง ตัดสต๊อคในบัญชีคุมสินค้า
แผนกบัญชี >>> ทำการบันทึกรับ – เบิกจ่ายสินค้า ในบัญชีสินค้าคงเหลือ ออกใบส่งของ/ใบกำกับภาษี
ลูกค้า >>>> กิจการแนบใบสั่งซื้อของลูกค้า ไปพร้อมกับใบส่งของ/กำกับภาษี อย่าลืมให้ลูกค้าเซ็นรับสินค้าด้วย (กรณีที่ลูกค้าไม่ออกใบรับของให้) เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับสินค้าไปจริง)
แสดงขั้นตอนการรับคำสั้่่งซื้อ
ตัวอย่างบันทึกบัญชีเมื่อขายสินค้า
เอกสารที่ต้องเก็บและเรียกเก็บเงินลูกค้า
เมื่อแผนกบัญชีได้รับสำเนา “ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี” (มีลายเซ็นลูกค้าเซ็นรับแล้ว) จะต้องทำการ
- บันทึกบัญชี
- บันทึกรายละเอียดสินค้าคงเหลือ
- จัดทำรายงานภาษีขาย (เก็บสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี)
- เอกสารเรียกเก็บเงินลูกค้าจะต้องมี (ใบวางบิล (2 ใบ), สำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี,สำเนาใบสั่งซื้อของลูกค้า)
- เมื่อถึงกำหนดรับเงิน นำใบเสร็จรับเงิน ไปแลกกับเช็คสั่งจ่ายในนามกิจการ และขีดคร่อมเพื่อเข้าบัญชีของกิจการ (ขอย้ำว่าควรเป็นเช็คสั่งจ่ายในนามกิจการ เพื่อง่ายแก่การควบคุม) แต่ถ้าจำเป็นต้องรับเงินสดก็ให้นำฝากธนาคารทันที
- แผนกการเงินตรวจสอบ และนำเช็คเข้าบัญชี และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมเงินสดรับ-จ่าย ควรทำทะเบียนคุมกระแสเงินสด คุมเช็ครับ เช็คจ่าย เช็ครับล่วงหน้า ดังตัวอย่างที่เคยให้ไว้ บันทึกรายงานฐานะการเงินในแบบฟอร์มที่ให้ไว้นี้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินสดและควบคุมเงินสดรับ-จ่าย และควรทำการกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคารทุกเดือน
แสดงขึ้นตอนการเตรียมเก็บเงินลูกค้า
ตัวอย่างตารางคุมกระแสเงินสดรับ-จ่าย >>>ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่่
เมื่อนำเงินเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้ว แผนกการเงินจัดทำใบสำคัญรับ เรียงลำดับตามเลขที่และลงวันที่ตามวันที่ได้รับเงิน พร้อมกับแนบเอกสารสำคัญไปด้วย ดังนี้
- สำเนาใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาใบส่งของ/กำกับภาษี
- หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)
- สำเนาเช็ครับจากลูกค้า
- ใบนำฝาก (Pay – in)
แผนกบัญชีทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ว่าสอดคล้องตรงกัน จนแน่ใจว่าเรียบร้อยดีแล้ว ก็ทำการบันทึกบัญชีล้างลูกหนี้
ตัวอย่างบันทึกบัญชีล้างลูกหนี้
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเดี่ยวกับโปรแกรมของระบบลูกหนี้ จึงอยากขอทราบรายละเอียดของโปรแกรมเพื่อใช้ในการศึกษาครับ
รบกวนขอทราบรายละเอียดดังนี้ครับ
ประเภทของระบบงาน
DBMS ที่ใช้
ระบบปฎิบัติการที่ใช้
โปรแกรมที่ใช้พัฒนา
ประเภทการใช้บริการ
ขั้นตอนการทำงาน
เกี่ยวข้องกับระบบงานอะไรบ้าง
ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าน่ะครับ
ขอโทษด้วยค่ะ ไม่มีความรู้ด้านนี้เลยค่ะ