Author Archive
Latest Posts
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีมีอะไรบ้าง
on: by Nittha Pantuseema (Admin)
ใกล้ถึงรอบบัญชีใหม่แล้ว เรามาเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับลักษณะธุรกิจ ที่จะต้องจัดเก็บและผู้ทำบัญชี/ผู้สอบบัญขีจะเรียกดูกันเถอะ หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัท ภพ.01 ภพ.09 ภพ.20 บอจ.5 (กรณีเป็นบริษัท) ทะเบียนทรัพย์สิน งบการเงินของปีก่อน สัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาจ้างเหมางาน , สัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น ภงด.50 / ภงด.51 แฟ้มงานที่ต้องจัดทำ แฟ้มงานภาษี – ภงด.1 พร้อมแนบแบบรายงาน (แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 52 และ มาตรา 59 กรณีหักภาษีตามมาตรา 50(1) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) แห่งประมวลรัษฏากร – ภงด.3 พร้อมแนบแบบรายงาน
งานรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท ประกันภัยทุกประเภท
on: by Nittha Pantuseema (Admin)
สำหรับท่านเจ้าของกิจการ ไม่ว่าท่านจะประกอบกิจการ 1. รับเหมาก่อสร้าง /บริการ ไม่ว่าจะ รับสร้างบ้าน สร้างถนน สร้างอาคาร งานระบบไฟฟ้า ระบบแอร์ ตกแต่งภายใน งานรับเหมาทุกชนิด 2. ธุรกิจผลิต / ซื้อมาขายไปในประเทศ/ นำเข้า-ส่งออก ท่านเคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ? 1.อยากทำธุรกิจ ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร?เริ่มต้นไม่ดีมีปัญหา ขาดผู้ชี้แนะในเรื่องต่างๆโดยเฉพาะการวางระบบบัญชีและภาษีอากร 2.ขาดพนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีและวางแผนภาษีอากรอย่างมืออาชีพ 3.ต้นทุนสูงจากการจ้างพนักงานบัญชีประจำ 4.ขาดความต่อเนื่องของงานบัญชี สาเหตุจากพนักงานเข้า – ออกบ่อยๆ อยู่ไม่ทน และพนักงานใหม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้งานอีกนาน 5.เกิดปัญหาด้านภาษี เพราะพนักงานบัญชีขาดความรู้และประสบการณ์ อาจถูกสรรพากรตรวจสอบ และประเมินภาษีได้ 6.ยื่นภาษีไม่ทันตามกำหนด ทำให้ต้องเสียค่าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่สรรพากร 7.ไม่สามารถนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างทันเหตุการณ์
การทำงานกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)
on: by Nittha Pantuseema (Admin)
การทำงานกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ว่าด้วยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ถ้ารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) แต่ถ้าหากต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) กฎหมายก็อนุญาตให้ทำได้ ยกเว้นธุรกิจบางประเภท ภ.พ.30 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม รายรับ = เป็นยอดขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่าย = เป็นยอดซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี กิจการจดVat เมื่อขายสินค้าหรือบริการ จะต้องเก็บภาษี VAT จากลูกค้าและออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า ซึ่งภาษีที่เรียกเก็บนี้เรียกว่า “ภาษีขาย” และกิจการจะต้องนำส่ง “ภาษีขาย” ให้สรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ถึงจะมีรายรับหรือไม่มีรายรับก็ตาม และถ้าหากยื่นแบบไม่ทันจะโดนค่าปรับตามที่สรรพากรกำหนด ถ้าหากประสงค์จะยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตก็สามาถทำเรื่องยื่นขอได้ เมื่อกิจการซื้อสินค้าหรือบริการ เข้าบริษัท โดยซื้อจากร้านค้าที่จดVat
ทำอย่างไร ถ้ากิจการที่ไม่มีผู้ทำบัญชี
on: by Nittha Pantuseema (Admin)
เห็นส่งข้อความเข้ามาหลายๆ คนทำกิจการเล็กๆ ทำเอง ขายเอง ทำบัญชีเอง (รวบรวมเอกสารส่งให้สำนักงานบัญชี) ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง สำหรับทุกคำถาม ขอสรุปให้ในบทความนี้เลยนะคะ ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า ถ้าเจ้าของกิจการไม่ได้จบปริญญาตรีบัญชี และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี ก็ไม่สามารถเซ็นผู้ทำบัญชีได้นะคะสรุปกรณีถ้าเปิดบริษัท แต่หากคิดจะทำบัญชีเอง โดยไม่อยากจ้างพนักงานบัญชี ลองพิจารณาว่า การเริ่มต้นธุรกิจหลายคนมี ความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น แต่บางคนยังขาดความรู้เรื่องการจัดทำบัญชี ที่อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เพราะหากเจ้าของกิจการไม่มีความรู้เรื่องบัญชีและคิดทำบัญชีเองอาจปวดหัวภาย หลังเพราะจะเจอแต่กับการที่มีแต่รายได้ แต่หาค่าใช้จ่ายมาลงบัญชีให้ถูกต้องตามประมวลรัษฏากร หรืออาจมีค่าใช้จ่ายนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามอีกเป็นเหตุให้เสียภาษี สูงอีก เพราะสาเหตุนี้จึงเป็นข้อสรุปว่าทำไมควรจ้างสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีและ ผู้สอบบัญชีให้ ถ้าเจ้าของกิจการ จบปริญญาตรีทางบัญชี ก็ไปขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นผู้เซ็นผู้ทำบัญชีเอง ถ้าไม่ได้จบปริญญาตรีทางบัญชี ก็รับพนักงานที่จบปริญญาตรีทางบัญชี เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ การเลือกผู้ทำบัญชีที่ดีและมีประสบการณ์จะสามารถช่วยเจ้าของกิจการในการวางระบบบัญชีที่เหมาะสม การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการบันทึกบัญชี การรายงานผลทางการเงิน เป็นต้น เจ้าของกิจการไม่ได้เรียนทางด้านบัญชีมา
มาจัดทำบัญชีแบบง่ายๆ กันเถอะ
on: by Nittha Pantuseema (Admin)
มาจัดทำบัญชีแบบง่ายๆ กันเถอะ หลายคนในห้องนี้อาจจะพึ่งเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว มีคำแนะนำจากกรูรูผู้มีประสบการณ์ ท่านบอกว่าถ้าจะทำกิจการให้ประสบความสำเร็จ ควรแยกกระเป๋า หมายถึง ควรแยกบัญชีส่วนตัว กับ บัญชีที่ทำธุรกิจ วางระบบให้ตัวเองแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ปวดหัวเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว และถ้าจำเป็นต้องเอาทุนส่วนตัวมาลง ก็ให้บันทึกว่ายืมเงินเจ้าของกิจการ เมื่อมีกำไร ก็ให้รีบคืนโดยเร็ว จะช่วยให้มีวินัยทางการเงิน และให้นำเงินรายได้จากการขายโอนเข้าบัญชีทุกวัน และถอนเท่าที่จะนำมาลงทุน บัญชีธนาคารของกิจการควรฝากเข้าบัญชีธนาคารเดียว จะทำให้ควบคุมเงินสดรับที่จะนำไปลงทุนได้ง่าย บันทึกทุกอย่างในกิจกรรมในแบบฟอร์มcash flow (บันทึกรายรับรายจ่าย) มีให้ดาวน์โหลดด้านล่างนี้ค่ะ การเก็บข้อมูลทางตัวเลขสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้สามารถวัดผลได้ มีตัววัดบางตัวที่อาจเก็บข้อมูลได้ยาก เพราะไม่อยู่ในระบบบัญชีปกติ นั่นก็คือ ความพึงพอใจของลูกค้า ต้องหมั่นสังเกต พูดคุย และเก็บข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุง เมื่อเราซื้อสินค้า / บริการ มาเพื่อขาย