เริ่มทำบัญชี สำหรับคนไม่รู้บัญชี ความรู้บัญชี ภาษี เบื้องต้น สำหรับมือใหม่ : ตอนที่ 1
ตอนที่ 1 เริ่มทำบัญชี สำหรับคนไม่รู้บัญชี ความรู้บัญชี ภาษี เบื้องต้น สำหรับมือใหม่
เจ้าของกิจการที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวส่วนใหญ่มักจะวุ่นวายทำงาน ในสมองคิดแต่ทำอย่างไรถึงจะขายได้ ทำอย่างไรจึงจะรักษาคุณภาพไว้อย่างสม่ำเสมอ ทำอย่างไรจะทำให้ตลาดรู้จักและทดลองใช้สินค้าหรือบริการ ทำอย่างไรจะได้เงินทุนหมุนเวียน วิ่งวุ่นติดต่อจนไม่มีเวลาว่าง ฯลฯ
ก่อนเริ่มธุรกิจ ให้ระวังเรื่องการทำบัญชี เพราะว่ากิจการที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ส่งงบการเงินให้กระทรวงพาณิชย์ทุกปี ถ้างบเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กิจการต้องนำส่งงบการเงินภายใน 150 วันของปีถัดไป แถมงบการเงินนั้นต้องได้รับการรับรองจากผู้สอบบัญชีภาษีอากรหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นอกจากนั้น กิจการยังต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากรสองครั้งต่อปี ครั้งแรกต้องนำส่งภายในเดือนสิงหาคม (สำหรับรายได้ที่เกิดระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน) และครั้งที่สองจะต้องส่งภายในเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะเป็นเดือนที่ครบ 150 วัน ยกเว้นกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นปีแรก ที่ไม่จำเป็นต้องนำส่งภาษีครึ่งปีในเดือนสิงหาคม
ความจริงแล้วบัญชีมีความสำคัญต่อผู้ประกอบกิจการ ไม่น้อยไปกว่าการผลิตและการตลาด ข้อมูลบัญชีสามารถทำให้เจ้าของกิจการทราบความเป็นไปทั้งหมดเกี่ยวกับสถานะการเงินของกิจการ ว่าเงินสดได้มาเท่าไหร่จ่ายออกไปเท่าไหร่ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คงค้างอยู่เท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลทางบัญชีที่ดีจะทำให้เจ้าของกิจการสามารถมองออก ข้อมูลทางบัญชีดังกล่าวจะต้องมีความสมบูรณ์และง่ายแก่การเข้าใจ การที่ผู้ประกอบกิจการมีความเข้าใจเรื่องบัญชีจะลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่นพนักงานที่จ้างมาทำบัญชีทำงานไม่เป็น ก็อาจถูกสรรพากรปรับ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบการบางคนส่งเอกสารให้สำนักงานบัญชี ซึ่งออกงบการเงินเอาใจผู้ประกอบกิจการด้วยการออกงบการเงินให้เป็นผลขาดทุนทำให้ไม่ต้องไปเสียภาษี อันนี้ก็ทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งทั้งหลายทั้งมวลเจ้าของกิจการก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบไปให้พนักงานบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่จ้างทำบัญชีได้ นอกจากไม่รู้ความเป็นไปแท้จริงที่เกิดกับธุรกิจแล้ว ยังต้องได้รับโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับทางราชการ อย่ากระนั้นเลย บัญชีง่ายนิดเดียวแค่การทำข้อมูลแบบง่ายๆ ก็สามารถควบคุมกำไรขาดทุนของกิจการได้แล้ว เริ่มต้นจาก
รายการบัญชี หมายถึง เหตุการณ์ที่กิจการได้เกี่ยวข้องทางการเงินที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ซึ่งเจ้าของรู้ดีที่สุดว่ากิจการได้จ่ายเงินให้ใคร จำนวนเงินเท่าไร เพื่ออะไร ซึ่งจะต้องมีการบันทึกด้วยความเข้าใจ เพราะถ้าจดๆไว้ไม่เป็นระเบียบก็ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้
ขั้นแรก เตรียมสมุดหนา ๆ 1 เล่ม แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นแนวตั้ง 7 แถว แต่ละแถวมีไว้จดบันทึก
แถวที่ 1 วันเกิดรายการ
แถวที่ 2 รายการรับเงินสดหรือเช็ค
แถวที่ 3 บันทึกผู้รับหรือผู้ที่จ่ายเงินหรือเช็ค
แถวที่ 4 คำอธิบายคร่าว ๆ
แถวที่ 5 รายรับ
แถวที่ 6 รายจ่าย
แถวที่ 7 ยอดคงเหลือ (รายรับ – รายจ่าย)
วิธีบันทึก
- ต้องทำตามลำดับก่อนหลังโดยบันทึกต่อเนื่องกัน ห้ามข้ามไปข้ามมา
- เขียนด้วยหมึก และถ้ามีการแก้ไขรายการที่บันทึกให้เซ็นต์ขื่อกำกับทุกครั้ง
- เก็บเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เช่น แยกแฟ้มใบเสร็จรับเงินที่ได้รับมา (แฟ้มลูกหนี้) กับแฟ้มแยก จากใบเสร็จรับเงินที่ออกให้ลูกค้า (แฟ้มเจ้าหนี้)
- บันทึกได้ครบ 1 เดือน บวกยอดรวมสรุปรายรับ-รายจ่ายประจำเดือน จะเห็นชัดเจนว่าเดือนนี้เรามีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการบันทึกแบบง่ายๆ แล้วสามารถนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจได้ เช่น เราควรลดรายจ่ายใด และการหารายได้เพิ่มอย่างไร มีลูกหนี้ค้างรับหรือไม่ เริ่มแรกทำขั้นตอนง่ายๆ แค่นี้ก่อนแค่นี้ก็ควบคุมกระแสเงินสดแบบง่ายๆ ได้แล้วนะคะ โปรดติดตามตอน 2 เรียนรู้เรื่องที่เราต้องเผชิญคือ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม
thank knowledge for me
มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากๆ^^
ขอบคุณมากค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน
ได้ความรู้เยอะมากขอบคุณมากค่ะ
ไม่ทราบแบบการบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มนี้ สามารถเอาไปยื่นต่อ กระทรวงพาณิช ได้เลยมั้ยครับผม
ขอบคุณมากคับ
แบบฟอร์มนี้เิอาไว้ใช้ดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในกิจการนะคะ
แต่แบบฟอร์ม ที่เกี่ยวกับภาษี เช่น ภงด.3,53 และ ภพ.30 สามมารถนำไปใช้ได้ค่ะ
ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากค่ะ
ดีมาก ๆ ค่ะ มองภาพออก เข้าใจง่าย
ขอบคุณมากนะคะ 🙂
ขอบคุณมากค่ะ.เพื่อนส่งเว๊บมาให้ค่ะ..
ได้ความเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
เป็นบริษัททำบัญชีใช่ไหมคะ
ไม่ใช่ค่ะ เป็นผู้ทำบัญชีค่ะ
ขอบคุณที่แชร์มีประโยชน์มากๆๆ
ยินดีค่ะ
คือหนูจะทำบัญชีที่ครูสอนแต่ว่าหนูทำไม่เป็น
ขอบคุณมากคะ..อยากติดตาม ตอนที่ 2,3,4 ด้วยคะ..ไม่ทราบว่ามีมั้ยคะ
รอติดตามนะคะ ที่เขียนให้เป็นแค่เบื้องต้นค่ะ เอาไว้ใช้บันทึกแบบง่ายๆ
แต่ถ้าต้องการนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ จะต้องลงละเอียดกว่านั้นค่ะ
ขอบคุณมากครับ ดูเข้าใจง่ายดีมากครับ
ขอบคุณค่ะ นำไปประยุกต์ใช้ได้ค่ะ ถ้าละเอียดก็ต้องแยกประเภทค่าใช้จ่าย
ขอบคุณมากๆนะคะ
ยินดีค่ะ
ขอบคุณค่ะมีประโยชน์มากๆค่ะ
เราเปิดร้านขายของชำเล็กๆมาก่อนแล้ว ลงทุนเท่าไหร่ไม่ได้จด
จะเริ่มทำบัญชีอย่างไร
เริ่มทำต้นทุนขาย และรายรับ กับ รายจ่ายก่อนเลยค่ะ